www.try2havebaby.com
เบอร์โทร : 085-913-9524
อีเมล : try2havebaby@gmail.com
line id : try2havebaby.com

การรักษาภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ ![]() การรักษาภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ
สาเหตุ การมีบุตรยากส่วนใหญ่เกิดจากรังไข่ทำงานผิดปกติเกี่ยวกับการตกไข่ และพังผืด หรือการอุดตันของท่อนำไข่ในฝ่ายหญิง และความผิดปกติของเชื้ออสุจิฝ่ายชาย ถึง 75% เกิดจากโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประมาณ 8% จากสาเหตุย่อยอื่นๆ เช่น ปากมดลูกผิดปกติ, มีภูมิต้านทานผิดปกติ, มดลูกผิดปกติ ประมาณ 2% ที่เหลืออีก 15% มักจะเกิดจากที่เรียกว่าหาสาเหตุไม่ได้ (unexplain infertility) คือไม่ทราบสาเหตุ การตรวจหาสาเหตุภาวะมีบุตรยากที่ตรวจร่างกายเบื้องต้นแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ 1. เรื่อง การตกไข่ จะใช้การตรวจเลือดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในช่วงหลังการตกไข่ หรือการทำอัลตราซาวนด์ เพื่อดูว่ามีถุงไข่โตขึ้นแล้วแตกออกหรือไม่ หรือการขูดเยื่อบุโพรงมดลูกไปตรวจดูลักษณะว่าเป็นแบบมีการตกไข่หรือเปล่า 2. ส่วนการตรวจดูการตีบตันของท่อนำไข่ ทำเบื้องต้นด้วยการฉีดสี x-ray ดูว่าท่อนำไข่ตันหรือไม่ โพรงมดลูกผิดปกติหรือเปล่า 3. การตรวจดูโพรงมดลูก นอกจากการทำฉีดสี x-ray แล้วก็ทำได้โดยการใช้อัลตราซาวนด์ หรือการส่องกล้องเข้าไปดูในโพรงมดลูก 4. การ วินิจฉัยว่าน้ำอสุจิปกติหรือเปล่าโดยมีเกณฑ์ปกติอยู่ที่ปริมาณน้ำเชื้อออกมา คราวละ 2 ซีซีขึ้นไป ความเข้มข้นของเชื้อไม่น้อยกว่า 20 ล้านตัวต่อซีซี การเคลื่อนไหวมากกว่า 50% ลักษณะปกติมากกว่า 40% 5. การ ผ่าตัดส่องกล้องเพื่อดูความผิดปกติเนื้องอก หรือพังผืดในอุ้งเชิงกราน เป็นวิธีที่ให้การวินิจฉัยได้แม่นยำที่สุดและสามารถแก้ไขความผิดปกติได้เลย ในเวลาเดียวกันได้เป็นส่วนใหญ่ แต่เนื่องจากเป็นวิธีที่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ ค่าใช้จ่ายสูงและอาจมีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดบ้าง ดังนั้นในกรณีที่ตรวจ ใน 4 ข้อแรกไม่พบความผิดปกติ แพทย์ที่รักษามีบุตรยากโดยทั่วไปก็มักจะให้การรักษาด้วยวิธีง่าย ๆ อย่างอื่นก่อน เช่น การให้คำแนะนำการมีเพศสัมพันธ์ การเปลี่ยน lifestyle (ได้แก่ การพักผ่อน การออกกำลังกาย การระมัดระวังเรื่องเหล้า-บุหรี่) การกระตุ้นการตกไข่ และการทำผสมเทียมโดยการฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก (IUI) ก่อน ถ้าไม่สำเร็จจึงทำผ่าตัดส่องกล้อง อย่างไรก็ตาม เราพบว่าคู่แต่งงานมีบุตรยากที่ตรวจไม่พบความผิดปกติในเบื้องต้น มักมีโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่และพังผืดที่ท่อนำไข่จำนวนไม่น้อย แต่เนื่องจากการทำเด็กหลอดแก้วมีอัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้นแพทย์บางคนจึงแนะนำให้ทำเด็กหลอดแก้วข้ามขั้นตอนการผ่าตัดผ่านกล้อง ในอุ้งเชิงกรานไป ได้มีคำแนะนำข้อพิจารณาในการทำหรือไม่ทำผ่าตัดส่องกล้อง โดยคำนึงถึง 1. มีเครื่องมือ, บุคลากร และแพทย์ที่ชำนาญในการผ่าตัดผ่านกล้องหรือไม่ เมื่อไรจึงจะบอกว่า มีภาวะมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ คำ นิยามภาวะนี้ คือ คู่สามีภรรยาที่ยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ แม้ได้ทำการวินิจฉัยและรักษาโรคอื่นตามขั้นตอนทั้ง 4 หรือ 5 ข้อแล้วนั้น เป็นเวลา 12 เดือน ยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ จึงเรียกภาวะนี้ว่าไม่ทราบสาเหตุ แล้วจะมีสาเหตุความเป็นไปได้จากอะไรได้อีกบ้าง เราไม่ทราบ แต่มีความเป็นไปได้ที่อาจเกิดขึ้น คือ - มีการผิดปกติแอบแฝงของการเจริญของถุงไข่ การตกไข่ และฮอร์โมนหลังการตกไข่ไม่สมบูรณ์ - ผลการตรวจเชื้ออสุจิสามีปกติก็จริง แต่อยู่ในเกณฑ์ต่ำของระดับปกติ - บางคู่ก็มีผิดปกตินิด ๆ หน่อย ๆ หลาย ๆ อย่างประกอบกัน (เช่น ภรรยาอายุมากกว่า 35 ปี ร่วมกับสามีมีความผิดปกติของอสุจิเพียงเล็กน้อย เป็นต้น) - ความไม่สมบูรณ์ของทั้งคู่ หรือ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เราไม่ทราบ เช่น เราพบว่า อัตราการปฏิสนธิและการแบ่งตัวของตัวอ่อนในการทำเด็กหลอดแก้วของคู่ที่ไม่ ทราบสาเหตุต่ำกว่าคู่ที่เกิดจากท่อนำไข่ผิดปกติ (คือ อยู่ที่ 52% และ 60% ตามลำดับ) - จากการทำเด็กหลอดแก้ว คู่ที่ไม่ทราบสาเหตุ มีอัตราการไม่ปฎิสนธิเลย มากกว่าคู่ที่ผิดปกติจากท่อนำไข่ ( คือ 6% และ 3% ตามลำดับ ) สรุปก็คือ อาจมีสาเหตุที่แอบแฝงอยู่ที่เรายังไม่ทราบ แล้วเราควรรักษาภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุอย่างไร แพทย์ มักใช้วิธีง่าย ๆ ก่อน แล้วค่อย ๆ ขยับขั้นตอนที่ยากขึ้น ต้องการเครื่องมือมากขึ้น ตามลำดับ เช่น การแนะนำให้เปลี่ยน lifestyle การแนะนำระยะที่ควรมีเพศสัมพันธ์ การกระตุ้นรังไข่ด้วยยารับประทาน แล้วเพิ่มเป็นการกระตุ้นด้วยยาฉีดที่มีราคาแพง ร่วมกับการฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI) ไปจนถึงการทำเด็กหลอดแก้ว โอกาสตั้งครรภ์ของคู่ที่มีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ 1. แนะ นำการมีเพศสัมพันธ์โดยการไม่ให้การรักษาใด ๆ โอกาสตั้งครรภ์ 1-3% ในแต่ละรอบเดือน อายุของภรรยามีส่วนสำคัญ กล่าวคือ อายุเกิน 37 ปี มีโอกาสตั้งครรภ์เองน้อยกว่าเดือนละ 1% มีการศึกษาพบว่าคู่ที่ตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติใด ๆ ภรรยาอายุน้อยกว่า 32 ปี ติดตามนาน 6 เดือน คู่ที่รักษาโดยให้คำแนะนำกับคู่ที่รักษาโดยการฉีดเชื้อผสมเทียมให้การตั้ง ครรภ์เท่ากัน ดังนั้น 2. ตรวจภาวะการตกไข่แล้วให้มีเพศสัมพันธ์ช่วงที่มีการตกไข่ 3. พบว่าการฉีดสี x-ray ตรวจท่อนำไข่ ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์มากขึ้นหลังจากนั้น 4. การทำการฉีดเชื้อผสมเทียมในโพรงมดลูก (IUI) - มักทำร่วมกับการกระตุ้นการตกไข่ - กระตุ้นการตกไข่ด้วยยาฉีดได้ผลมากกว่ายารับประทาน - การฉีดเชื้อ IUI ได้ผลดี เมื่อเตรียมแล้วได้ผลเชื้ออสุจิแข็งแรงมากกว่า 5 ล้านตัว และ/หรือ รูปร่างปกติไม่น้อยกว่า 30% ถ้าน้อยกว่านี้มีผู้ที่ทำการศึกษาแนะนำว่าควรทำเด็กหลอดแก้วดีกว่า - ผลการทำ IUI โดยไม่มีการกระตุ้นการตกไข่ มีโอกาสตั้งครรภ์รอบละ 5% ถ้ากระตุ้นด้วย Clomiphene citrate มีโอกาส 7-10% ถ้ากระตุ้นด้วย FSH มีโอกาส 10-26% (เฉลี่ย 15%) - แพทย์ผู้ชำนาญการหลายท่านให้คำแนะนำว่า ถ้าทำ IUI 3 รอบแล้วยังไม่ตั้งครรภ์ ควรเปลี่ยนวิธีการรักษา เพราะส่วนใหญ่ที่ตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นใน 3 รอบแรก - การกระตุ้นด้วย FSH แล้วทำ IUI เมื่อตั้งครรภ์มีโอกาสเป็นแฝดได้มาก (คือ แฝด 2 = 20% แฝด 3 = 5% แฝด 4 = 3%) - แฝด 3 และ แฝด 4 มีโอกาสเกิดผลแทรกซ้อนต่อแม่และลูกได้สูง 5. การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) - ในคู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ มีโอกาสตั้งครรภ์มากขึ้น 2 เท่าจากการทำ IVF เมื่อเทียบกับ IUI หลังฉีด FSH (คือ โอกาสตั้งครรภ์ 20-40% ในแต่ละรอบ) 6. เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ได้มีผู้ศึกษาเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายต่อการได้ลูก 1 คน การใช้ Clomiphene กระตุ้นการตกไข่ถูกที่สุด ถ้าใช้ยาฉีดแพงขึ้น 1.7 เท่า ถ้าทำ IVF แพงขึ้น 5 เท่า ดังนั้นถ้าไม่มีปัญหาเรื่องอายุของคู่สมรสก็ควรเริ่มต้นแบบง่าย ๆ ก่อนที่จะไปถึงการทำเด็กหลอดแก้ว น่าจะดีกว่า สรุป - การวินิจฉัยภาวะมีบุตรยากชนิดไม่ทราบสาเหตุก็ต่อเมื่อได้ทำการตรวจค้นหาตาม แนวทางด้วยวิธีต่าง ๆ ที่มี รวมถึงการตรวจสภาพตามอายุขัยของรังไข่ และการผ่าตัดโดยการส่องกล้องช่องท้องแล้ว ไม่พบความผิดปกติ - ประมาณ 1-3% ของคู่สมรสกลุ่มนี้ตั้งครรภ์ได้เองในแต่ละรอบเดือน - การเปลี่ยน lifestyle ที่เหมาะสมทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากขึ้น การทำเด็กหลอดแก้วเป็นวิธีที่ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากที่สุด (20-40% ต่อรอบ) แต่ก็เป็นวิธีที่แพงที่สุด มีภาวะแทรกซ้อนมากที่สุด - การรักษาเริ่มต้นจึงควรเริ่มที่การกระตุ้นการตกไข่ก่อน แล้วตามด้วยการทำ IUI และ IVF ตามลำดับ - การพิจารณาเลือกวิธีใด จะต้องสร้างสมดุลระหว่างผลการรักษา, ราคา, ความปลอดภัย และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในแต่ละวิธี ซึ่งเหมาะสมแตกต่างกันในแต่ละบุคคล - การรักษาแต่ละวิธีไม่ควรเกินอย่างละ 3-6 รอบ ที่มา:ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก วิภาวดี |