มารู้จักฮอร์โมนเพศหญิงกันเถอะ
ฮอร์โมนนเพศหญิงมีหลายตัว ฮอร์โมนที่สำคัญที่น่ารู้จักเพื่อจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการแสดงและโรคของรังไข่และมดลูกมีดังนี้ เอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน FSH และ LH เรามาดูรายละเอียดกัน
- เอสโตรเจน (Estrogen)
โครงสร้างทางเคมี คล้ายกับสตีรอยด์มาก จะว่าเอสโตรเจนเป็นสตีรอยด์ดัวหนึ่งก็ไม่ผิด และที่เราเรียกรวมๆ กันว่า เอสโตรเจน ส่วนใหญ่เป็น 17-เบต้า เอสตราไดออล(17-B Estradiol)
รังไข่มีหน้าที่สร้างเอสโตรเจน และจะเริ่มสร้างตอนที่ผู้หญิงกำลังเข้าสู่วัยรุ่น เป็นฮอร์โมนเพศตัวแรกที่สามารถเปลี่ยนสรีระของเด็กให้กลายเป็นสาวเต็มตัว เพื่อเตรียรพร้อมสำหรับ การสืบพันธุ์ต่อไป
เมื่อร่างกายของเด็กผู้หญิงมีระดับเอสโตรเจนสูงขึ้นในช่วงเริ่มวัยรุ่น เด็กจะเริ่มมีนมตั้งเต้า ใต้ผิวหนังจะมีไขมันมาสะสมมากขึ้น เปลี่ยนสภาพร่างกายแบบเด็กๆ ให้เปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล มีก้น มีเอว เอสโตรเจนทำให้สะโพกผายออก กลายเป็นรูปร่างของหญิงสาว เมื่อถึงเวลาเด็กสาวก็จะมีประจำเดือน อันเป็นสัญญาณ แสดงว่าเธอพร้อมสำหรับการสืบพันธุ์แล้ว นอกจากนี้ เอสโตรเจนยังทำให้มดลูก และช่องคลอดขยายใหญ่ขึ้น ที่ธรรมชาติจัดการเช่นนี้ก็เพื่อเตรียมพร้อมเพื่อการปฏิสนธิ การตั้งครรภ์และการคลอด เพื่อจุดมุ่งหมายในการสืบทอดพันธุกรรมไปยังรุ่นต่อไป
ระดับเอสโตรเจน จะขึ้นลงแตกต่างกันไปในรอบเดือน ทั้งนี้เพื่อเตรียมเนื้อเยื่อในโพรงมดลูกให้หนาตัวขึ้น เพื่อทำให้มดลูกพร้อมสำหรับรองรับไข่ที่อาจะถูกผสม และมีส่วนในการหล่อเลี้ยง
ตัวอ่อนในครรภ์ หากไม่มีการฝั่งตัวของตัวอ่อน เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกที่หนาขึ้นก็จะหลุดลอก ออกมาเป็นประจำเดือน แล้วก็จะมีการเตรียมเยื่อในโพรงมดลูกใหม่ เรื่อยไปเป็นวัฎจักร
จนทั้งถึงวัยหมดประจำเดือน ระดับเอสโตรเจนจะมีระดับลดลง
เมื่อระดับเอสโตรเจนในร่างกายเพิ่มขึ้นในวัยรุ่น ทำให้เด็กผู้หญิงต้องปรับตัวให้คุ้นเยกับระดับฮอร์โมนเพศที่เพิ่มขึ้นในร่างกาย มักจะมีความเครียดเกิดขึ้น มีอารมร์แปรปรวน หงุดหงิด
มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ก้าวร้าว ตามฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อร่างกายสามารถปรับตัวได้ อาการวุ่นวายแบบวัยรุ่นจึงค่อยๆ ลดลงเอง
เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน เอสโตรเจนลดระดับลง ร่างกายจำเป็นต้องปรับตัวอีกครั้งหนึ่ง จากเดิมที่มีเอสโตรเจนสูง กลายเป็นมีระดับเอสโตรเจนต่ำ ช่วงนี้มดลูกก็จะฝ่อลง เต้านมหย่อนยาน
ตามแรงโน้มถ่วงของโลก ผิวหนังเต่งตึงก็เริ่มีริ้วรอย ผู้หญิงจะรู้สึกเครียดจากระดับเอสโตรเจนลดลง หรือเรียกว่า เข้าสู่ภาวะ"วัยทอง" นั่นเอง มีอาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน ฯลฯ
ภาพประกอบจะทำให้ท่านเข้าใจมากขึ้น

- โปรเจสเตอโรน(Progesterone)
โปรเจสเตอโรน เป็นสตีรอยด์ เช่นเดียวกับเอสโตรเจน สร้างขั้นในรังไข่ แต่เป็นการสร้างคนละระยะของรอบเดือน ฮอร์โมนตัวนี้ทำให้เส้นเลือดไปเลี้ยเยื่อบุมดลูกเพิ่มมากขึ้น เป็นผลทำให้เยื่อในโพรงมดลูกยิ่งหนาตัว เพื่อเตรียมพื้นที่
ให้พร้อมสำหรับรับการฝังตัวของไข่ หากไข่ไม่ถูกผสม รังไข่ก็จะเลิกสร้างฮอร์โมนตัวนี้ เมื่อระดับโปรเจสเตอโรนลดลง เยื่อบุมดลูกก็จะลอกตัวออกมาเป็นประจำเดือน
แต่ถ้าไข่ที่ถูกผสมแล้วฝังตัวลงไปในเยื่อบุมดลูกได้ รังไข่จะทำหน้าที่สร้างโปรเจสเตอโรนต่อไปอีกระยะหนึ่ง
จนกว่ารกของตัวอ่อนจะเจริญขึ้นและทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนตัวนี้แทน เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน โปรเจสเตอโรนก็จะลดลงด้วย เพราะรังไข่หยุดทำงาน
หากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงเกือบตอลดเวลา ทำให้ไม่มีโอกาสเกิดซีสต์และก้อนเนื้อในรังไข่
-ฟอลลิคูลา สติมูเลตติ้ง ฮอร์โมน (Follicular Stimulating Hormone หรือ FSH)
ฮอร์โมน FSH มีหน้าที่กระตุ้นไข่สุก ต่อมใต้สมองทำหน้าที่สร้าง FSH ขึ้นเพื่อกระตุ้นเซลล์ไข่ที่มีอยู่ในรังไข่ให้เจริญขึ้น จากเซลล์เล็กๆ ให้ค่อยๆ สุก
เพื่อพร้อมในการผสมกับเชื้ออสุจิ FSH มีผลต่อการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงในวัยสาว และทำให้เจริญพันธุ์ หากร่างกายไม่มี FSH ไข่ก็จะไม่สุก และทำให้เป็นหมัน
- ลูตีไนซิ่ง ฮอร์โมน (Luteinizing Hormone หรือ LH)
ต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมนตัวนี้ขึ้นมาเพื่อกระตุ้น ทำให้ไข่ที่สุกแล้วตกออกมาจารังไข่ เพื่อเคลื่อนตัวเข้าสู่ท่อนำไข่และพร้อมสำหรับการผสมกับอสุจิ
หากไม่มี LH ไข่ก็อาจจะไม่ตกออกมาจากรังไข่ และทำให้เป็นหมัน ในทางตรงข้ามหากมี LH ระดับสูง ก็อาจจะทำให้เกิดซีสต์ในรังไข่
ในระยะเจริญพันธุ์ของเพศหญิง ฮอร์โมนทั้ง 4 ตัวนี้จะมีระดับสูงต่ำ ขึ้นลง แตกต่างกันไป การทำงานของฮอร์โมนแต่ละตัวจะสัมพันธ์กัน เป็นแบบนี้เรื่อยไปจนกระทั่งถึงวัยหมดประจำเดือน